เมนู

เพียงบริกรรมเท่านั้น จักไม่อาจเพื่อให้นิมิตเกิดขึ้น ผู้นี้จักอาจเพื่อ
ให้นิมิตเกิดขึ้น แต่จักไม่อาจเพื่อให้อัปปนาเกิดขึ้น ผู้นี้จักบรรลุ
อัปปนาแล้วกระทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วจักถือเอา
พระอรหัต ดังนี้ แล.

นิทเทสแห่งกำลังที่ 3 จบ

อธิบายกำลังข้อที่ 4


คำว่า ขนฺธนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์) อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเหตุต่าง ๆ แห่งขันธ์ 5 อย่างนี้ว่า นี้
ชื่อว่า รูปขันธ์ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ดังนี้. ในบรรดาขันธ์แม้
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความที่ขันธ์หนึ่ง ๆ แตกต่างกัน
อย่างนี้ คือ รูปขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ รูปขันธ์มี 11 อย่าง เวทนาขันธ์มี
อย่างเดียว ฯลฯ เวทนาขันธ์มีมากอย่าง, สัญญาขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สัญญา-
ขันธ์มีมากอย่าง, สังขารขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สังขารขันธ์มีมากอย่าง วิญญาณ
ขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ วิญญาณขันธ์มีมากอย่าง ดังนี้.
คำว่า อายตนนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งอายตนะ) นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความแตกต่างกันแห่งอายตนะ อย่างนี้ว่า
นี้ ชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ในอายตนะเหล่านั้น
กามาวจรมี 10 อายตนะ อายตนะอันเป็นไปในภูมิ 4 มี 2 อายตนะ ดังนี้.
คำว่า ธาตุนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่างกันแห่งธาตุ) อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความต่างกันแห่งธาตุ อย่างนี้ว่า นี้ ชื่อว่า
จักขุธาตุ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. ในธาตุเหล่านั้นกามาวจรธาตุมี
16. ธาตุอันเป็นไปในภูมิ 4 มี 2 ธาตุ ดังนี้.

คำว่า อเนกธาตุํ นานาธาตุํ โลกํ (แปลว่า โลกธาตุเป็นอเนกธาตุ
เป็นนานาธาตุ) อีกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาเพื่อแสดงว่า พระตถาคต
ย่อมทรงทราบความเป็นต่างกันแห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารนี้เพียงอย่างเดียว
เท่านั้นก็หาไม่ ย่อมทรงทราบแม้ความต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร
ด้วยนั่นแหละ ดังนี้.
ก็พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย และพระอัครสาวกทั้งสองย่อมทรงทราบ
ความเป็นต่างกันแม้แห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารโดยเอกเทศ (โดยส่วนหนึ่ง)
เท่านั้น ย่อมไม่ทราบโดยพิศดาร (คือ โดยไม่เหลือ) และไม่ทราบความ
ต่างกันแห่งอนุปาทินนกสังขาร. ส่วนพระสัพพัญญูพุทธะ ย่อมทรงทราบความ
เป็นต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร อย่างนี้ว่า ลำต้นแห่งต้นไม้นี้ย่อม
มีสีขาว เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ลำต้นแห่งต้นไม้นี้มีสีดำ ... ลำต้นแห่งต้นไม้
นี้มีเปลือกเกลี้ยง... ลำต้นของต้นไม้นี้มีเปลือกหนา... ลำต้นของต้นไม้นี้มี
เปลือกบาง เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ใบของต้นไม้นี้มีรูปอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่ง
สีและสัณฐานเป็นต้น เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ผลของต้นไม้นี้มีสีเขียว เพราะมี
ธาตุชื่อนี้มาก มีสีเหลือง.. . มีสีแดง. . . มีสีขาว . . . มีกลิ่นหอม . . . มีกลิ่น
เหม็น... มีผลเล็ก.. . มีผลใหญ่ ... มีผลยาว. .. มีผลสั้น ... มีผลกลม. ..
มีสัณฐานดี . . . มีสัณฐานทราม...มีผลเกลี้ยง...มีผลหยาบ.. .มีกลิ่นหอม .. .
มีกลิ่นเหม็น... มีรสหวาน . . . มีรสขม. .. มีรสเปรี้ยว . . . มีรสเผ็ด
มีรสฝาด เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก และหนามของต้นไม้นี้แหลม มีหนามไม่
แหลม มีหนามตรง มีหนามคด มีสีแดง มีสีดำ มีสีเขียว มีสีขาว เพราะ
มีธาตุชื่อนี้มาก ดังนี้ เพราะว่า ญาณข้อนี้เป็นกำลังแห่งพระสัพพัญญูพุทธะ
เท่านั้น ไม่เป็นกำลังของชนทั้งหลายเหล่าอื่น ดังนี้ แล.
อธิบายกำลังข้อที่ 4 จบ

อธิบายกำลังข้อที่ 5


คำว่า หีนาธิมุตฺติกา ได้แก่ อัธยาศัยอันเลวทราม. คำว่า ปณีตา-
ธิมุตฺติกา
ได้แก่ มีอัธยาศัยอันดี. คำว่า เสวนฺติ ได้แก่ (ย่อมคบหา
สมาคม) ย่อมอาศัย ย่อมติดใจ. คำว่า ภชนฺติ ได้แก่ การเข้าไปใกล้.
คำว่า ปยิรุปาสนฺติ ได้แก่ การเข้าไปหาบ่อย ๆ จริงอยู่ ถ้าว่าพระอาจารย์
และอุปัชฌาย์ไม่มีศีล สัทธิวิหาริก (ผู้อยู่ร่วม) มีศีล สัทธิวิหาริกเหล่านั้น
ย่อมไม่เข้าไปใกล้แม้ในอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน ย่อมเข้าไปใกล้ในภิกษุผู้
สมควรเช่นกับคนเท่านั้น. ถ้าว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์คนใดเป็นผู้มีศีล สัทธิ-
วิหาริกไม่มีศีล ก็ย่อมไม่เข้าไปใกล้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมเข้าไปใกล้ภิกษุผู้มี
อัธยาศัยเลวเช่นกับตนเท่านั้น. ก็การเข้าไปคบทาสมาคมด้วยอาการอย่างนี้ ไม่
มีในกาลบัดนี้เท่านั้น เพื่อแสดงว่า มีแล้วแม้แต่ในอดีตกาล และจักมีใน
อนาคตกาล ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตีตมฺปิ
อทฺธานํ
เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ถามว่า บุคคลผู้ทุศีลคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลด้วยกัน บุคคลผู้มีศีลคบ
หาสมาคมกับผู้มีศีลด้วยกัน ผู้มีปัญญาทรามคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาทรามด้วย
กัน บุคคลผู้มีปัญญาดีคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาดีด้วยกันเท่านั้น. อะไรย่อม
กำหนด ?
ตอบว่า อัชฌาสยธาตุ (ความพอใจอันเป็นมูลเดิม) ย่อมกำหนด.
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนมาก ย่อมเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง เป็น
การไปเพื่อภิกษาเป็นคณะ. พวกมนุษย์นำอาหารจำนวนมากใส่บาตรให้เต็มถวาย
แล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า ขอท่านทั้งหลายจงฉันอาหารตามส่วนของท่านทั้งหลาย
ดังนี้. แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกมนุษย์ย่อมประกอบการ
งานอันประกอบพร้อมด้วยธาตุ (ความพอใจ) ดังนี้. แม้พระเถระชื่อว่า จูฬาภัย